ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) คือ ภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายนำกลูโคส(น้ำตาล) จากเลือดไปใช้เป็นพลังงานในเซลล์ต่างๆ เมื่อเซลล์ดื้ออินซูลิน จะทำให้ร่างกายต้องผลิตอินซูลินมากขึ้นเพื่อให้สามารถนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ได้ ในระยะยาวหากไม่สามารถควบคุมได้ อาจนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเกี่ยวกับระบบเมตาบอลิซึมต่างๆ เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดสูงได้
สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะนี้
พันธุกรรม : ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานหรือโรคทางเมตาบอลิซึม อาจเพิ่มความเสี่ยง
น้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วน : ไขมันส่วนเกิน โดยเฉพาะในช่องท้องสามารถทำให้เซลล์ดื้ออินซูลินได้ง่ายขึ้น
ขาดการออกกำลังกาย : การไม่มีกิจกรรมทางกายเป็นประจำอาจทำให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ยาก
การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง : การทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตที่มีดัชนีน้ำตาลสูงมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ การทานอาหารที่มีไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวสูง ก็เช่นกัน
การกินอาหารไม่เป็นเวลาหรือการกินจุกจิก : ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเหมาะสมในการทำงานของระบบเผาผลาญ การกินบ่อย ๆ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นเร็วและไม่สมดุล ส่งผลให้ร่างกายต้องผลิตอินซูลินมากขึ้นเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ซึ่งจะทำให้เซลล์มีแนวโน้มดื้ออินซูลินในระยะยาวได้
ความเครียดและการนอนหลับไม่เพียงพอ : สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้การผลิตฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อการทำงานของอินซูลิน
การมีระดับฮอร์โมนผิดปกติ : เช่น ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
(Cortisol) ที่มีการผลิตมากเกินไป สามารถทำให้ร่างกายดื้ออินซูลินได้ง่ายขึ้น
การใช้ยาบางประเภท : เช่น ยาต้านซึมเศร้า, ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids), หรือยาบางชนิดที่ใช้รักษาความ
ดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก : การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อการทำงานของอินซูลินและเพิ่มความ เสี่ยงในการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน
ภาวะดื้ออินซูลินน่ากลัวไหม?
ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และการจัดการสุขภาพ หากปล่อยไว้โดยไม่ควบคุม อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวานและอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ และสามารถป้องกันด้วยการปรับพฤติกรรรมการใช้ชีวิต
🔸 เบาหวานประเภท 2 – เมื่อดื้ออินซูลินมากขึ้น ตับอ่อนจะต้องผลิตอินซูลินมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดอาจผลิตไม่ทัน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเป็นเบาหวาน
🔸 ไขมันพอกตับ (NAFLD) – อินซูลินสูงผิดปกติส่งผลให้เกิดไขมันสะสมในตับ
🔸 โรคหัวใจและหลอดเลือด – เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดอุดตัน
🔸 ภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) – ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติและมีภาวะมีบุตรยาก
🔸 อ้วนลงพุงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น – ทำให้ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง
อาการของภาวะดื้ออินซูลิน
✅ น้ำหนักขึ้นง่ายโดยเฉพาะบริเวณพุง
✅ หิวบ่อย อยากของหวาน
✅ อ่อนเพลีย ง่วงบ่อย โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร
✅ ผิวคล้ำบริเวณคอ รักแร้ ข้อพับ (Acanthosis nigricans) มีติ่งเนื้อ
✅ ความดันโลหิตสูง
✅ ไขมันพอกตับ (บางคนตรวจพบจากอัลตราซาวด์ช่องท้อง)
✅ ผู้หญิงอาจมีภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ (เกี่ยวข้องกับ PCOS)
ลดภาวะดื้ออินซูลินได้อย่างไร?
🔹 ลดน้ำหนัก – หากมีน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนักลง 5-10% จะช่วยลดภาวะดื้ออินซูลินได้ ควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะไขมันหน้าท้อง
🔹 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ – โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งและคาร์ดิโอ
🔹 ลดน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตขัดสี – หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง ขนมปังขาว ข้าวขาว ฯลฯ กินไฟเบอร์โปรตีนและไขมันดีมากขึ้น เช่น อะโวคาโด ถั่ว ปลาแซลมอน ไข่ ฯลฯ
🔹 นอนหลับให้เพียงพอ – การนอนน้อยทำให้ฮอร์โมนอินซูลินเสียสมดุล
🔹 ลดความเครียด – เพราะความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่รบกวนอินซูลิน
🔹 หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ บุหรี่ และอาหารแปรรูป